แต่เดิมการทำเห็ดถุงโดยใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ จะมีการเติมอาหารเสริมสำคัญคือ รำละเอียด 6% ต่อมามีการเติมหินปูนบด, ยิปซัม, ดีเกลือ, บ้างเติมกากถั่วป่น, เศษพืชป่นที่มีมากในพื้นที่ น้ำตาลทรายแดง, กากน้ำตาล น้ำหมักพืช ฮอร์โมนพืช ฯลฯ ใครว่าใช้อะไรดีก็หามาเติม จนเกิดปัญหาต้นทุนสูง มีกลิ่นดึงดูดแมลงหวี่เห็ด และมด แม้แต่ไร เมื่อสัตว์เหล่านี้มาที่ถุงเห็ดก็ทำให้ถุงเห็ดติดเชื้อปนได้ง่าย มีข้อมูลในวารสารเห็ดไทยเรื่องการใช้ขี้เลื่อยเก่ามาเป็นส่วนผสมกับขี้ เลื่อยใหม่แล้วได้ผลดี ผู้วิจัยอ้างว่าในขี้เลื่อยเก่ามีบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส เชื้อนี้สปอร์ไม่ตายเมื่อพาสเจอร์ไรซ์ แต่กลับช่วยกระตุ้นการเจริญของเส้นใยเห็ด ในประเทศไทยได้นำเชื้อบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส สายพันธุ์พลายแก้ว มาหมักขยายจำนวนแล้วผสมในขี้เลื่อยก่อนทำถุง ซึ่งก็แสดงผลที่ดีมากและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ฟาร์มเห็ดดอนปรูได้ปรับสูตรลงเหลือเพียงขี้เลื่อย 100 กก. แร่ม้อนท์ 3 กก. (หรือภูไมท์ซัลเฟต 5 กก.) รำละเอียด 6 กก. อื่นๆ ตัดออกหมด แต่เติมน้ำหมักพลายแก้วเพื่อป้องกันราและน้ำหมักไมโตฝาจ เพื่อป้องกันกำจัดไร ถ้าจะผลิตถุงเห็ดส่งลูกค้าที่มีปัญหาแมลงหวี่มากก็จะเติมน้ำหมักบีทีด้วย วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดกลิ่นดึงดูดศัตรูเห็ดด้วย ในกรณีของการใช้น้ำหมักและยิปซัมไปได้ทั้งหมด แต่แร่ม้อนท์ให้แร่ธาตุจำเป็นต่างๆ แก่เห็ดไดดีทั้งธาตุรอง และธาตุเสริม เมื่อนำถุงเชื้อมาผลิตดอกเห็ดก็ได้ดอกเห็ดใหญ่ สมบูรณ์ น้ำหนักดี
ขอบคุณที่มาข้อมูล คุณอำพล สุขเกตุ
สภาพภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าวยาวนานต่อเนื่อง ส่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตหลากหลายในโลกใบนี้เกิดสภาพความเครียดและต้องปรับตัวเพื่อให้ร่างกายรับกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ ยังมีข่าวมนุษย์ตายจากคลื่นความร้อนอยู่เป็นระยะทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความพิกลฉลฉ้อของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่สามารถปรับตัวทนทานได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดที่เล็กก็ยังไม่หลุดพ้นจากความตายความเครียด ทำให้เราไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ นั้นมีการเจ็บป่วยล้มตายมากน้อยเพียงใด เพราะยังไม่มีผู้ใดนำข้อมูลด้านนี้มาเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์อย่างแพร่หลายมากนัก จะมีก็เพียงผู้เพาะเห็ดที่ทำการเลี้ยงจุลินทรีย์เชื้อราเท่านั้นที่จะพอทราบคร่าวๆอยู่บ้าง ในสภาพที่อากาศเปลี่ยนแปลงหนาวจัด ร้อนจัดเห็ดจะมีปัญหาการออกดอกที่น้อยลง แห้งเหี่ยวเสียหายง่าย
ในช่วงนี้ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว แต่สภาพภูมิอากาศทั้งในกรุงเทพและรอบๆ ในเขตภาคกลาง ปรากฎว่าสภาพภูมิอากาศยังคงร้อนอย่างต่อเนื่องยาวนาน ถึงจะก้าวเข้าสู่เดือนธันวาคมแล้วก็ตาม จึงไม่แน่ใจว่าปีนี้จะมีอากาศหนาวให้ได้สัมผัสมากน้อยเพียงใด เทคนิคการดูแลเห็ดในโรงเรือนให้มีความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิตจะต้อง ควบคุมคอนโทรลให้สภาพอากาศภายในโรงเรือนนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวสลับสับเปลี่ยนจนเห็ดไม่สามารถปรับตัวได้ จะทำให้ผลผลิตของเห็ดออกน้อย เนื่องจากเห็ดเกิดอาการเครียดการเจริญเติบโตไม่สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพแวด ล้อมด้วยคิดว่ายังไม่ใช่ฤดูกาลที่เขาควรจะเจริญเติบโตแพร่ขยายกระจายพันธุ์ ออกมา
วิธี การหนึ่งที่ช่วยให้อากาศภายในโรงเรือนเพาะเห็ดเย็นขึ้นนอกจากการเพิ่มปริมาณ การให้น้ำที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 รอบ 5 รอบแล้วก็คือการเปิดชายผ้าใบหรือแสลนด์จากพื้นด้านล่างขึ้นมาประมาณ 1 คืบเพื่อให้เกิดการระบายถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนเพิ่มมากขึ้น หรือจะใช้วิธีการเปิดประตูหรือผ้าใบด้านหน้าและด้านหลังทิ้งไว้ประมาณ 1 -2 ชั่วโมง (ในกรณีที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนร้อนจัดมากๆ หรือระยะบ่ายแก่ๆ ของวัน) นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิลดลงมาอยู่ในช่วงที่เหมาะสมแล้วยังช่วยเพิ่มปริมาณ อากาศหรืออ๊อกซิเจนเพิ่มเข้าไปในโรงเรือนได้อย่างเต็มที่ การเปิดให้อากาศถ่ายเทแบบกว้างต้องค่อยๆ ทำและคอยสังเกตด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือจำเป็นมากน้อยหรือไม่ อัน นี้ต้องดูว่าถ้าเปิดจากชายด้านล่างแล้วสามารถช่วยระบายถ่ายอากาศได้ดีเพียง พอก็ไม่จำเป็นต้องเปิดด้านหน้าด้านหลัง เกษตรกรผู้เพาะเห็ดสามารถที่จะประยุกต์ดัดแปลงได้หลากหลายวิธีการในการทำให้ โรงเรือนมีสภาพอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดได้
ที่มา:
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
พืชสมุนไพรไล่แมลง
ข้อมูลการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ อ่านได้ที่นี้ครับ paohoe
วันนี้มีเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการเพาะเห็ดขอนขาว และเห็ดบด มาให้อ่านกันนะครับ
อ่านได้ที่นี้เลยครับ ขอนขาว