Posts Tagged ‘น้ำส้มควันไม้คืออะไร’
น้ำส้มควันไม้คืออะไร
น้ำส้มควันไม้ (อังกฤษ: wood vinegar หรือ pyroligneous acid) เป็นของเหลวใส สีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด โดยมีอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 – 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80 – 150 องศาเซลเซียส สารประกอบต่างๆ ในไม้จะสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการควบแน่นมาเก็บในที่ร่มประมาณ 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน จะแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้ และน้ำมันดินตกตะกอนอยู่ด้านล่างสุด
องค์ประกอบน้ำส้มควันไม้
การใช้ประโยชน์น้ำส้มควันไม้
- การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ได้แก่ ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว สารปรับผิวนุ่ม อุตสาหกรรมอาหารรมควัน อุตสาหกรรมย้อมผ้าและยารักษาโรคผิวหนัง
- การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง ราดทำลายปลวกและมด ป้องกันสัตว์ต่างๆ เช่นตะขาบ ตะเข็บ แมงป่อง กิ้งกือ ราดโคนต้นไม้รักษาโรคราและโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงวางไข่ ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ฉีดพ่นใบเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
- การใช้ประโยชน์ทางด้านปศุสัตว์ ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย
- การใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ การแช่เมล็ดข้าวที่เสื่อมคุณภาพตามธรรมชาติเนื่องจากผ่านการเก็บรักษา 10 เดือนในน้ำส้มควันไม้เจือจาง 300 เท่า เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมล็ดมีความงอกร้อยละ 96.67 ซึ่งสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการแช่และแช่ด้วยน้ำ[4] น้ำส้มควันไม้ระดับความเข้มข้น 1: 500 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในข้าวโพดหวานทั้งวิธีการฉีดพ่นบนใบและฉีดลงดิน[
- ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา การปรุงอาหารใน สมาพันธรัฐอเมริกา ได้พยายามทดแทนการขาดแคลนเกลือโดยเก็บรักษาเนื้อสัตว์และปลาในน้ำส้มควันไม้ แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก
การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูของเห็ดนั้น เป็นสิ่งที่น่าทำและจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องด้วย บรรดาแมลงทั้งหลายที่เข้ามาก่อกวนดอกเห็ดของเราจะเข้ามาใน 2 ลักษณะคือ ตัวเต็มวัย ซึ่งบินกันให้ว่อนทั่วโรงเห็ดหรือเกาะตามดอกเห็ดนั่นแร่ะ เป็นตัวแมลงเต็มวัย สามารถใช้ “น้ำส้มควันไม้” ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วทั้งโรงเรือน ทั้งภายนอกและภายใน รวมทั้งหน้าก้อนหลังก้อนให้ชุ่มโชกไปเลย และควรที่จะฉีดพ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกันและขับไล่ตัวเต็มวัยของแมลงไม่ให้เข้ามาก่อกวนดอกเห็ดของเราอีก ลักษณะที่ 2 ของแมลงก็คือ ตัวหนอน ตัวเต็มวัยของแมลงที่เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงของดอกเห็ดเมื่ออิ่มหมีพีมันดีแล้ว มันก็จะทำการวางไข่ไว้ตามหน้าก้อนเห็ด เจ้าไข่นี่มันจะใช้เวลา 1 วันก่อนที่จะกลายร่างเป็นหนอน ค่อย ๆ คืบคลานเข้าไปกัดกินเส้นใยเห็ด มันใช้เวลาในชีวิตของการเป็นหนอนอยู่ 4 วันก่อนที่จะกลายร่างเข้าสู่ดักแด้ รอวันที่จะเติบโตเป็นตัวเต็มวัยออกมาอาละวาดเราอีก การกำจัดเราจึงจะต้องตัดวงจรชีวิตของมันในขณะที่มันเป็นหนอน ซึ่งจะมีโอกาสแค่ 4 วัน จุลินทรีย์ที่จะกำจัดหนอนได้มีชื่อว่า บาสิลัส BT โดยหมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อนหรือนมกล่องเช่นเดียวกับเชื้อบาสิลัสพลายแก้ว แล้วนำมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหน้าก้อนและถ้าเจอว่าก้อนไหนมีหนอนเข้าไปข้างในจะใช้เข็มฉีดยาฉีดอัดเข้าไปก็ได้ และเพื่อกำจัดหนอนไม่ให้มันมีโอกาสได้เข้าดักแด้จึงควรฉีดพ่น 4 วันต่อเนื่องกัน เชื้อ BT และเชื้อพลายแก้ว สามารถใช้ผสมในน้ำ 20 ลิตรและฉีดพ่นพร้อมกันได้ การฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ก็ดี หรือเชื้อบาสิลัสก็ดี ควรวางโปรแกรมฉีดพ่นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ สัปดาห์แล้วจะไม่มีศัตรูมารบกวนดอกเห็ดของเราครับ